มีหมุดปักธุรกิจบน Google My Business แล้วก็อยู่เฉยๆไม่ได้นะ คุณจำเป็นต้องรู้จักการปรับแต่ง และใช้งานฟีเจอร์ต่างๆ ที่ระบบ กูเกิลมายบิสซิเนส มีไว้ให้ใช้ ซึ้ง ณ ตอนนี้ ระบบก็มีฟีเจอร์ ลูกเล่นต่างๆให้ใช้งานได้เยอะมาก ยิ่งใช้เยอะเท่าไร ก็ยิ่งทำให้ หมุดปักธุรกิจหรือ หมุดของร้านคุณ โดดเด่นมากกว่าคู่แข่ง ขึ้นไปเรื่อยๆแน่นอน
บทความนี้ ผมขอรวบรวม 13เทคนิค ที่ผมได้ทำมาแล้วกับหลายๆหมุดธุรกิจ มาแนะนำให้เพื่อนๆพี่น้อง ทุกท่าน ลองศึกษา และเอาไปประยุกต์ปรับใช้กับ หมุดปักGoogle Map ธุรกิจของทุกท่านที่ดูแลเองกันอยู่ โดยอ่านได้จากบทความนี้ พร้อมคลิปวีดีโอ อธิบายด้านล่าง 13 เทคนิคปรับแต่งหมุด Google My Business ดังนี้
ชมคลิปอธิบาย 13 เทคนิคได้ที่วีดีโอด้านล่างนี้ได้เลย
- การเพิ่มแอตทริบิวต์ เข้าไปในหมุดปัก Attributes หรือคุณลักษณะ ที่ธุรกิจของคุณมี คือฟีเจอร์ตัวนึงที่จะบอกลูกค้าได้ว่า ร้านคุณ ธุรกิจของคุณมีแอตทริบิวต์ หรือคุณลักษณะใดบ้าง ที่มีให้บริการอยู่ ซึ้งแต่ละหมวดหมู่ประเภทธุรกิจ อาจจะมีแอตทริบิวต์ให้เราได้เลือกได้ใน ระบบ Google my business ที่ไม่เหมือนกัน ลองเข้าไปที่แท็บ “ข้อมูล” หรือ “Info” แล้วเลื่อนลงมาด้านล่างๆหน่อย จะเห็นหัวข้อ attributes ให้เลือก ลองดูว่าธุรกิจหมวดหมู่ของคุณ มีคุณลักษณะอะไรบ้างที่ตรงกับสิ่งที่ระบบมีให้เลือก ก็กดติ๊กถูก เพื่อใช้งานแอตทริบิวต์นั้นๆ ได้เลยครับ
- อัพรูปภาพใหม่ๆ ให้สวยสด และสดใหม่อยู่เสมอๆ Google My Business ค่อนข้างให้ความสำคัญเกี่ยวกับรูปภาพของสถานที่นั้นๆ เป็นอย่างมาก ยิ่งมีภาพจำนวนมาก และมีความหลากหลายของธุรกิจมากเท่าไร ก็ยิ่งจะดึงดูดให้ลูกค้าที่กำลัง ค้นหาและดูหมุดนั้นๆอยู่ มีความสนใจร้านคุณมากขึ้น ไม่ว่าจะทำธุรกิจใดๆ ขอย้ำว่า ควรใส่ใจเรื่องรูปภาพ และอัพภาพใหม่ๆ สินค้าใหม่ บริการใหม่ (หรือจะเป็นสินค้าเดิม บริการเดิม แต่รูปเป็นรูปใหม่ก็ได้นะ) ค่อยๆอัพเดท ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ทุกๆเดือน ทำต่อเนื่องกันไป กูเกิลจะชอบมาก และผลักดันทำให้ธุรกิจหมุดร้านคุณดูดีขึ้นด้วย || สำหรับบางธุรกิจ การอัพภาพเข้าไปเฉยๆ แล้วภาพยังไม่ค่อยเล่าเรื่องราวได้นัก ก็แนะนำให้พิมพ์บรรยายลงไปในภาพด้วย Text in Picture ทำให้ลูกค้าที่กำลังดูอยู่ รู้ว่าภาพๆนั้นสื่อถึงอะไร เช่นคลินิกศัลยกรรมความงาม ถ่ายรูปโชว์รีวิวลูกค้าเสริมจมูกมา ถ้าถ่ายแล้วลงภาพเลย ลูกค้าก็ไม่ค่อยรู้ว่าภาพสื่ออะไร แต่หากก่อนอัพ คุณได้ใส่ Text คำบรรยาย ว่าลูกค้าท่านนี้ ทำอะไรกับจมูกบ้าง เสริมจมูกด้วยวัสดุอะไร คุณภาพระดับไหน ใช้เทคนิคอะไรทำให้ดูเป็นธรรมชาติ ก็จะทำให้ภาพเล่าเรื่องได้มากยิ่งขึ้น มากกว่า ถ่ายแล้วอัพโหลดไปเลยห้วนๆ
เทคนิคข้อ3 ควรเขียนคำบรรยายของธุรกิจ เล่าสั้นๆใน 1 พารากราฟว่า ธุรกิจให้บริการอะไร ขายสินค้าอะไร หรือถนัดงานด้านใดอยู่ บ้าง ลงไปในช่อง “จากธุรกิจ” หรือ “From Business” ในแท็บหน้าข้อมูล สามารถพิมพ์บรรยายได้ มากสุด 750 ตัวอักษร ก็พิมพ์เข้าไปเลยสั้นๆ แนะนำตัวธุรกิจได้เต็มที่ว่า ให้บริการหรือขายสินค้าอะไรอยู่ ณ ตอนนี้ ….. เมื่อลูกค้าค้นหา มาเจอหมุดของเรา ส่วนอธิบายธุรกิจนี้ จะทำให้ลูกค้าเข้าใจธุรกิจของคุณได้อย่างคร่าวๆ พอที่จะรู้ได้ว่าขายอะไร ให้บริการอะไรบ้าง
เทคนิคข้อ 4 ใช้ Insight ให้เป็นประโยชน์ … Insight หรือ ข้อมูลเชิงลึก เป็นระบบสถิติหลังบ้านของ Google My Business ที่เก็บรวบรวมผลการค้นหาที่ผู้คน กดพิมพ์ค้นหามา แล้วมาเจอหมุดเรา ซึ้ง Insight บอกข้อมูลต่างๆได้หลากหลาย แฟคเตอร์ มีสถิติมากมายที่สามารถโชว์ให้เรา รับทราบ จากการแสดงผลในรอบ 1 เดือน – 1ไตรมาส ที่ผ่านมา แต่ส่วนที่ผมให้ความสำคัญสำหรับ ข้อมูลเชิงลึก ที่แนะนำในเทคนิคข้อนี้คือ คำคีย์เวิร์ด ที่ลูกค้า พิมพ์ค้นหามาเจอหมุดเรา แนะนำให้ลองดู 5-10 คีย์เวิร์ดแรก ที่ผู้คนพิมพ์ค้นหามา ว่ามีคีย์เวิร์ดไหนน่าสนใจ เราอาจจะแทรกคีย์เวิร์ดคำนั้นๆ ลงไปในโพสต์ POST ที่จะแนะนำในเทคนิคที่5 หรือเอาคีย์เวิร์ด ไปสร้างเป็นชื่อบริการ ชื่อสินค้า ที่จะอธิบายในเทคนิคข้อ12 เพื่อทำให้ มีโอกาสที่ลูกค้าจะมาค้นหาเจอได้เราได้มากขึ้นอีกในอนาคต จากการใช้ data from insight ตรงนี้
เทคนิคข้อ 5 โพสต์บ่อยๆช่วยได้ ฟีเจอร์ POST ซึ้งมีมาในระบบ Google My Business มานานหลายปีแล้ว เป็นฟีเจอร์ที่ดูเหมือนจะคล้ายกับการโพสต์คอนเทนต์ใหม่ ลงเพจเฟสบุ็คนั้นแหละ อัพรูปภาพพร้อมพิมพ์คำบรรยาย ใส่ลิ้งค์ได้ แต่กลับเป็นฟีเจอร์ที่ผมพบว่า ผปก.ชาวไทย ให้ความสำคัญกับมันน้อยมากจริงๆ เห็นหลายๆหมุดปัก พอกดไปดูส่วนของโพสต์ก็อาจเคยโพสต์คอนเทนต์ของร้านเอาไว้ เพียง 1-2 โพสต์แล้วก็ไม่เคยกลับไปอัพเดทใหม่อีกเลย ก็เจอแบบนี้เยอะมาก จริงๆจะบอกความลับให้หนึ่งอย่าง ฟีเจอร์โพสต์ ยิ่งโพสต์บ่อย ก็เหมือนว่าหมุดคุณจะได้คะแนนจิตพิสัยเพิ่มขึ้นด้วย ทำให้อันดับของหมุดขยับดีขึ้นได้ในระยะยาว เพราะการโพสต์นั้นพิมพ์ Text บรรยายได้ ใส่ลิ้งค์ได้ เป็นการเพิ่มเนื้อหา ทำให้หมุดของคุณมีอะไรให้กูเกิลรู้สึกว่า น่าสนใจกว่า หมุดธรรมดาๆหมุดนึง ที่ปักเสร็จแล้วก็ไม่เคยโพสต์เลย ฉะนั้นได้มาอ่านบทความนี้แล้ว วันนี้กลับไปเปิดฟีเจอร์โพสต์แล้ว Post content ใหม่ลงไปได้เลยครับ เนื้อหาจะเอามาจากที่เคยโพสต์ผ่าน เพจเฟสบุค หรือที่เคยลงใน IG Twitter หรือบล็อก ก็ได้หมด และข่าวดี ตอนนี้โพสต์ที่ลงในระบบ GMB จะไม่ถูกลบออกไปแล้วด้วยนะ โพสต์นั้นจะอยู่ยาวๆ (เหมือนก่อนหน้านี้ โพสต์มีอายุ 7 วัน หลังจากนัันจะหายไป) แต่กูเกิล ปรับนโยบายใหม่ โพสต์หลังจากนี้ อยู่ๆยาวๆไม่หายไปแล้ว
เทคนิค ข้อ 6 กระตุ้นให้ลูกค้า เขียนรีวิว ให้มากขึ้น Review บน Google Maps ถือว่าเป็นหนึ่งสิ่งที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน เมื่อมีผู้คน ค้นหามาเจอหมุดธุรกิจเรา และจำนวนของคนรีวิว ก็มีนัยยะสำคัญ ที่ส่งผลต่ออันดับหมุดของเรา รวมถึงการแสดงผลบนแผนที่กูเกิลแมพ เมื่อยังไม่ได้ค้นหา จำนวนรีวิวที่มากกว่าคู่แข่ง หรือหมุดของธุรกิจอื่นๆในย่านเดียวกัน ย่อมส่งผลต่อการแสดงผลที่ดีมากขึ้น แต่ไม่ได้ฟันธงว่า รีวิวมากสุดจะอยู่ที่อันดับ1เสมอไป เพราะอัลกอรึธึมคำนวณปัจจัยมากกว่า 50 แฟคเตอร์ || แต่สิ่งที่แนะนำในข้อนี้ก็คือ การกระตุ้นให้ลูกค้าเขียนรีวิวร้านเรามากขึ้น โดยการขอ หรือพูดเอ่ยปากขอ หรือทำป้ายประกาศขอรีวิว โดยตรง ซึ้งสิ่งที่จะทำให้ลูกค้าเขียนรีวิวที่ง่ายกว่า ก็คือการมี ของรางวัล Reward เล็กๆน้อยๆ เพื่อเป็นสิ่งตอบแทนเมื่อลูกค้ารีวิวธุรกิจของเรา โดยอาจเอา URL ลิ้งค์หมุดปักไปสร้าง QRcode แล้วปรินท์มาแปะไว้หน้าเคาเตอร์ของร้าน แล้วขั้นตอน Check out ชำระเงิน ก็ให้พนักงานพูดกระตุ้นอีก1หน อย่างน้อยลูกค้าสัก 10-20% ก็อาจจะร่วมเขียนรีวิวให้คุณได้แล้ว
เทคนิคข้อ 7 เลือกหมวดหมู่ธุรกิจให้ตรงมากที่สุดกับธุรกิจของเรา อันนี้ผมเจอจากคลิปของฝรั่งหลายคนมากๆ ที่เป็นกลุ่มสนใจ GMB แบบจริงๆจังๆ ทุกคนพูดว่า หมวดหมู่ธุรกิจ มีผลสูงมากๆๆๆๆๆ ในการทำให้ร้านเราค้นหาได้เจอ ในคีย์เวิร์ดคำค้นหาที่ลูกค้ากำลังหาอยู่ ยกตัวอย่าง หากคุณเปิดร้านอาหารทะเล หรืออาหารซีฟู้ด เวลาเลือกหมวดหมู่ธุรกิจ ก็ควรเลือกเจาะจงไปที่ “ภัตตาคารอาหารทะเล” หรือ “Seafood Restaurant” เลยเป็น หมวดหมู่หลักของหมุดคุณ อย่าไปเลือกหมวดหมู่ “ร้านอาหาร” ซึ้งเป็นคำกว้างๆ ไม่เฉพาะเจาะจง …. และเพิ่มเติมคือ หมวดหมู่ อื่นๆสามารถใส่เพิ่มได้ เป็นสินค้าหรือบริการอื่นๆ ที่คุณมีขายหรือให้บริการ เช่น คุณเปิดร้านอาหารทะเล แต่ก็รับจัดเลี้ยง และ มีห้องรับจัดงานแต่งงานได้ ด้วยในร้าน สามารถเลือก หมวดหมู่เพิ่มเติม เป็น “สถานที่จัดเลี้ยง” และ “สถานที่จัดงานแต่งงาน” เข้าไปเพิ่มได้ ซึ้งทำให้ เมื่อมีคนค้นหา สถานที่จัดงานเลี้ยง โอกาสที่ร้านคุณจะปรากฎในผลการค้นหา ก็จะมากขึ้นด้วย
หมวดหมู่ บน Google my business เราไม่สามารถพิมพ์เองได้ตามใจชอบนะครับ เราจะต้องเลือกจาก ลิสท์หมวดหมู่ที่ระบบมีให้ ซึ้งปัจจุบัน มีหมวดหมูต่างๆ ให้เลือกถึง 3000 ประเภทธุรกิจ ให้ลองพิมพ์คำสำคัญของธุรกิจลงไป แล้วดูว่า มีลิสท์ชื่อที่ขึ้นมาให้เลือก เป็นหมวดหมู่ที่ตรงกับธุรกิจของเราไหม ถ้าไม่เจอตรงๆเป๊ะๆ ก็ควรเลือกที่ใกล้เคียงที่สุดแทน
เทคนิค ข้อ 8 เพิ่มความโดดเด่นของหมุดปัก ด้วยคลิปวีดีโอสั้นๆ อันนี้เป็นการไปดูหมุดมาหลายๆร้อยธุรกิจ เนื่องจากผมเป็นอาชีพนักปักหมุดกูเกิล การ explore หาหมุดร้านโน้นร้านนี้ แล้วมองหาจุดเด่นไปเรื่อย เป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ และก็ค้นพบข้อนึงว่า หมุดธุรกิจของใคร มีคลิปวีดีโอสั้นๆ อธิบายได้ว่าธุรกิจทำอะไร ขายอะไร ให้บริการอะไร เป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้สูงมาก เพราะคลิปเดียว สามารถบรรยายและเข้าใจธุรกิจได้เกือบทั้งหมดเลยว่าทำอะไรบ้าง ดีกว่าการกดดูรูปเป็นหลายๆสิบรูป หรือกดอ่านโพสต์ กดดูส่วนของบริการและโปรดักซ์ ซึ้งใช้เวลานานกว่าจะรับรู้ว่าธุรกิจนี้ขายอะไร หรือให้บริการอะไรบ้าง หากทำคลิปอธิบายบรรยายพร้อมมีเสียงประกอบให้ดูดี สักเพียงแค่1คลิป หมุดธุรกิจของคุณก็โดดเด่นขึ้นมากแล้ว
เทคนิค ข้อ 9 ตั้งค่าการส่งข้อความ Messages ฟีเจอร์การส่งข้อความผ่าน Google Maps เพื่อคุยสนทนาโดยตรงกับเจ้าของธุรกิจ มีมาประมาณ 2 ปีได้แล้ว ซึ้งเป็นฟีเจอร์เพิ่มศักยภาพการติดต่อให้ง่ายมากขึ้น โดยที่เจ้าของหมุด Google my business ต้องไปกดตั้งค่า เปิดรับการส่งข้อความนี้ก่อนในระบบหลังบ้าน ลูกค้าถึงจะมีปุ่มเพิ่มขึ้นมาใน Google maps เมื่อเจอหมุดเราแล้วกดดูรายละเอียดดีเทล จะเจอปุ่ม Contac us now เป็นการกดปุ่มแล้วทักคุยกับร้านได้โดยตรง ….. ซึ้งทางฝั่งทีมแอดมิน จะตอบกลับข้อความลูกค้าได้ผ่าน ทั้ง แอป Google my business ผ่านมือถือ หรือจะล็อกอินเข้าระบบหลังบ้าน GMB ผ่านคอม แล้วพิมพ์ตอบก็ได้ (เมื่อก่อนหน้านี้ การตอบกลับทำได้เฉพาะเวอร์ชั่นผ่านแอปเท่านั้น)
เทคนิค ข้อ 10 กดสร้าง Website by GMB เป็นอีกฟีเจอร์ที่ดีมากๆ และระบบให้เราใช้งานได้ฟรี คือการกดสร้างเว็บไซต์ ผ่านระบบของ Google my business โดยคล้ายเป็นอีก 1 Landing Page หรือเว็บไซต์หน้าเดียว ก็ว่าได้ โดยระบบจะ Generate จากข้อมูลต่างๆที่เรามีอยู่แล้ว ทั้งชื่อหมุด ก็เอามาเป็นชื่อ Header รูปภาพ ก็ดึงมาใส่ใน Gallery , ส่วนรีวิว ก็เอาไปไว้เป็นส่วนของ Testimonials บนเว็บ , โพสต์ที่กล่าวไว้ในเทคนิคข้อ5 ก็เอามาจัดเรียงไว้ในส่วน Update บนเว็บ การปรับแต่งเว็บไซต์ฟรี อันนี้ อาจจะปรับเปลี่ยนอะไรไม่ได้มากนัก แต่แนะนำให้สร้างเอาไว้ เพราะอย่างน้อย เราจะได้ ฟรี 1 URL ที่เป็น Landing page ของร้านเราได้ เวลามีคนค้นหา ชื่อคีย์เวิร์ดร้านเราโดยตรง อย่างน้อย Website ฟรีอันนี้ มักจะติด 1 ในหน้าแรกด้วยเสมอ ถ้าลูกค้าพิมพ์ชื่อร้านมาโดยตรง (เคสที่เป็นคีย์เวิร์ดไม่ได้แข่งกันเลือดสาด แดงเดือด นะจ๊ะ)
เทคนิค ข้อ 11 ใส่ลิ้งค์เว็บไซต์หลัก ลิ้งค์เฟสบุ็ค ลิ้งค์จองล่วงหน้า ลิ้งค์เมนู ให้ครบถ้วน (ถ้าหมวดหมู่ที่คุณใช้งานอยู่ มีให้ใช้ ด้วยนะ) คือเมื่อก่อนหน้านี้ ระบบจะมีแค่ 1 ช่องให้ใส่ลิ้งค์ได้อันเดียวเท่านั้น ซึ้งเราต้องมาเลือกว่า จะเอาลิ้งค์ไหนมาลงดี เลือกได้แค่ 1 อัน แต่ปัจจุบันปี2021นี้ บางหมวดหมู่ เช่นร้านอาหาร เราสามารถใส่ลิ้งค์เมนู ลิ้งค์จองล่วงหน้า เพิ่มได้เลย ซึ้งดีสำหรับเจ้าของธุรกิจ เพราะปัจจุบัน ส่วนใหญ่ก็มีทั้ง เฟสบุ็คเพจ มี LINE OA หรือลิ้งค์เชื่มไป Food Delivery เจ้าต่างๆ ก็สามารถเอาพวกนั้น มากรอกใส่ได้อีกหลายช่อง หลายลิ้งค์เลย เป็นประโยชน์มากๆ ลองไปปรับใชักันดูครับ
เทคนิค ข้อ 12 เพิ่ม Product หรือ Service เข้าไปในหมุด 2 ฟีเจอร์นี้ เป็นการทดลองระบบมาระยะนึงแล้ว จนตอนนี้ฟีเจอร์ค่อนข้างสมบูรณ์มากขึ้นแล้ว โดยผมค่อนข้างเชียร์ให้ทำ 2 ส่วนนี้มากๆ เพราะจากการสังเกตมาหลายๆธุรกิจ พบว่า หมุดไหนได้มีการลง Product ผลิตภัณฑ์ไว้ หรือลงในส่วน Service บริการ มันจะมีแท็บพิเศษ โชว์ในหมุดและบอกรายละเอียดดีเทล สินค้าของคุณได้อย่างดูดีมากๆ เช่นร้าน Lek Massage Bangkok ซึ้งเป็นหนึ่งในลูกค้าของผม ก็ได้ทำการลงบริการนวดไทย นวดเท้า นวดคอบ่าไหล และอื่นๆ เกือบทุกบริการลงในส่วน Product ซึ้งทำให้ใส่รูปภาพ พร้อมคำอธิบายและราคา แยกแต่ละบริการได้อย่างชัดเจน และดูดีเอามากๆ เทียบกับร้านสปา อื่นๆที่ไม่ได้ทำตรงนี้เอาไว้
เทคนิค ข้อ 13 เพิ่มภาพ Street View Inside ลงไปในหมุดปักของธุรกิจ ภาพ 360 องศา บนถนนหลัก ถนนรอง ซอยต่างๆ ทางบริษัทกูเกิล เป็นผู้รับผิดชอบในการให้รถที่ติดกล้อง360 วิ่งเก็บถ่ายภาพถนนแทบจะทั่วทุกตรอกซอกซอย แต่ก็เก็บได้เฉพาะถนนสาธารณะ และวิ่งผ่านหน้าธุรกิจเราไปเท่านั้น แต่หากธุรกิจของคุณมีการตกแต่งที่สวยงาม เช่นเป็นรีสอร์ท โรงแรม หรือโชว์รูมสินค้า ร้านอาหาร ร้านสปา และธุรกิจที่มีการตกแต่งภายในที่ดูดี คุณสามารถว่าจ้างช่างภาพ Trusted Photographer ให้เข้าไปถ่ายภาพ 360องศา ภายในสถานที่ของคุณได้ ซึ้งทาง Google Inc. ได้เปิดโอกาศให้ผู้มีไลเซนต์ หรือมีคุณสมบัติของ Trusted Photographer แต่ละประเทศ ไปรับงานถ่ายตรงนี้ แล้วอัพโหลดภาพถ่ายสตรีทวิวภายในสถานที่ ไปยังหมุดของธุรกิจนั้นๆได้ (มีค่าใช้จ่าย ตั้งหาก ตามตกลงกัน) ซึ้งในเมืองไทยเอง ก็มีช่างภาพ 360องศา อยู่จำนวนนึง ไม่มากนัก ส่วนใหญ่ก็คือเป็นเอกชน บางเจ้าเปิดเป็นบริษัท บางเจ้าก็รับงานแบบฟรีแลนซ์ ที่คุณสามารถ ว่าจ้าง ให้มาถ่ายภาพ Streetview Insideตรงนี้ได้ ….. และความลับที่ผมพบเจอมาก็คือ จากผลการค้นหาหลายๆครั้ง ผมพบว่า หมุดไหนที่มีภาพสตรีทวิว อินไซด์ ถ่ายเอาไว้ ดูเหมือนระบบการจัดอันดับผลการค้นหา จะค่อนข้างโน้มเอียงไปยังหมุดที่มีภาพสตรีทวิว ให้มีผลการค้นหาที่อันดับขึ้นไปอยู่สูงกว่า หมุดที่ไม่ภาพ360นี้ ซึ้งถ้าเป็นคนที่รู้จักและตามข่าว Google Inc. มาสักระยะนึงแล้ว ก็จะพอจะเข้าใจได้ว่า กูเกิล มักจะลำเอียง เล็กๆให้แบบนี้มานานแล้ว ตั้งแต่สมัยมี Google Plus โซเชียลมีเดียของเครือตัวเอง ใครที่โพสต์ลง Google Plus บ่อยๆ มันมีแนวโน้มทำให้ ลิ้งค์ SEO หมุดนั้น อันดับดีกว่าชาวบ้าน เคสแบบนี้ ก็คล้ายๆกัน หมุดปัก ธุรกิจใครมีภาพถ่าย Street view inside ซึ้งเป็นผลิตภัณฑ์ย่อยอันนึงของกูเกิล Google Search ก็มักมีแนวโน้มจะทำให้ ผลการค้นหาดีขึ้นมากกว่า คู่แข่งเสมอ ……
ฉะนั้น ถ้าเทคนิค 12 ข้อแรกได้ลองทำไปหมดแล้ว อยากให้หมุดโดดเด่นมากกว่าเดิม ลองควักสตางค์หน่อย เรียกช่างภาพมาถ่าย 360 องศา ก็เป็นออฟชั่นที่น่าลงทุน ทีเดียวนะครับ ถ้าสนใจจริงๆ ลองทักมาที่เพจของผมได้ เรามีพาร์ทเนอร์ที่รับงานถ่ายภาพสตรีทวิว ให้บริการด้วยเช่นกัน
ติดตามทริค เทคนิค และความรู้ต่างๆเกี่ยวกับ Google Maps / Google My Business ได้ที่
Facebook : กูเกิลแมพ ใช้เป็น ประโยชน์เยอะ https://www.facebook.com/usefulmaps/
Website : https://usefulmaps.in.th/
Youtube : https://bit.ly/Usefulmaps-YT