fbpx

มาทำความรู้จัก Google My Maps, Google My Business และ Local Guides กัน [EP.1 รอบรู้กับกูเกิลแมพ]

เริ่มต้นทำความรู้จักความแตกต่างของทั้ง 3 บริการนี้กันก่อน

ซีรีย์ รอบรู้กับกูเกิลแมพ เป็นคลิปวีดีโอ ที่จะอธิบายเรื่องต่างๆ ที่ผมได้เรียนรู้จากการทดลองเล่น Google Maps มานานกว่า 10 ปี และค่อนข้างคลั่งไคล้ในฟีเจอร์หลายๆอย่างบนกูเกิลแมพ จนพาไปรู้จักส่วนประกอบย่อยๆ อื่นๆที่ระบบ Google Maps ได้แยกออกมาเป็นอีก 3 บริการ นั้นก็คือ Google My Maps , Google My Business และ Google Local Guides คลิปนี้จะอธิบายความแตกต่าง และวัตถุประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกันไป

สวัสดีครับ ผมชื่อนิว เป็นแอดมินเพจ กูเกิลแมพ ใช้เป็น ประโยชน์เยอะ เพจนี้และเว็บนี้นั้นเอง ทำเพจมาปีกว่า ได้รับ inbox มามากมายเรื่อง Google Maps มากมายเลย ต้องบอกก่อนว่า ตัวผมเองไม่ใช่พนักงานของกูเกิลแมพ นะ แต่เป็นยูเซอร์คนนึงที่ชอบศึกษา Social Mediaต่างๆ ทั้งเฟสบู้ค ไอจี ทวิตเตอร์ และอื่นๆรวมถึงการปักหมุดในกูเกิลแมพ ชอบศึกษามัน รวมถึงพัฒนา เรียนรู้การปักหมุด ฟังค์ชั่นโน้นนี้จนเริ่มคุ้นเคย จนกระทั้งมาทำงานเป็น Digital Marketing Consultant ให้กับร้านอาหารหลายๆแห่ง แล้วก็ต้องทำการปักหมุด Google Map ให้กับร้านอาหารหลายๆร้าน ทำไปทำมาจนคุ้นเคย คุ้นมือ ทำจนรู้เทคนิค โน้นนี้นั้น ขั้นตอนนี้เป็นอย่างงี้ ขั้นตอนนั้นต้องทำอย่างนั้น จนมาเปิดเพจ กูเกิลแมพ เพื่อมาอธิบายประโยชน์ของมันดีกว่า เพื่อที่จะอธิบายประโยชน์ของมันดีกว่า เพื่อที่จะช่วยให้มือใหม่ ที่ไม่คุ้นเคยมากนะ มาเรียนรู้กัน วันนี้เห็นว่าน่าจะเริ่มมาทำคลิปอธิบายส่วนต่างๆของกูเกิลแมพ ที่ยังใช้ไม่ค่อยเป็น คลิปนี้เป็น EP.1 ของซีรีย์นี้นะครับ ฉะนั้นจะขอเล่าแบบกว้างๆให้เข้าใจเสียก่อน

คนไทยส่วนใหญ่น่าจะคุุ้นเคยการใช้งาน Google Maps มาบ้างมากน้อยก็แล้วแต่คน ต้องเคยใช้งานผ่านมือถือ ผ่านเดสท็อป หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่จะบอกว่า ในระบบกูเกิลแมพที่เราใช้งานกันอยู่นี้ มันประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญ ที่เป็นโปรดักซ์ย่อยของทางกูเกิลแมพ วันนี้จะมาเล่าให้ฟังกัน

ก่อนถึงต้องรู้ก่อนว่า Google Maps ที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ มันประกอบไปด้วย 3 ส่วนดังนี้ 1. Google My Map 2. Google My Business และ 3. Local guides ทั้ง3 อันนี้มันผสมรวมตัวกันอยู่ภายใต้ Google maps

มีคนมา inbox เข้ามาในเพจถามผมเยอะมากว่า จะปักหมุดกูเกิลแมพ ทำยังไง จะทำหมุดไว้ดูเองไว้ใช้ดูในองค์กรณ์ทำยังไง จะปักหมุดร้านค้า ร้านอาหารทำยังไง มีธุรกิจขายของ ต้องปักหมุดยังไง วันนี้จะมาช่วยอธิบายคลายประเด็นแต่ละตัวให้ฟังกัน

ตัวแรกที่ต้องรู้จัก Google My Maps ก็คือแผนที่ที่ทำปักหมุดเอาไว้ดูเอง ปักหมุดส่วนตัว และแชร์ลิ้งค์ให้เพื่อนได้ ผ่านทางอีเมล์ ผ่านทางไลน์ ไปให้เพื่อนได้ แต่คนอื่นจะมาเห็นได้เฉพาะคนที่ได้รับลิ้งค์ หรือได้รับการแชร์จากเจ้าของคนทำเท่านั้น ไม่เป็นสาธารณะ หรือเป็นการหมุดปักแล้วเอาไปฝั่ง (embed) ลิ้งค์ HTML ไว้ในเว็บของเรา เว็บขององค์กรณ์ เพื่อให้คนที่เข้ามาในเว็บไซต์ของเราเห็นว่า ร้านเราอยู่ตรงนี้นะ ถ้ามีสาขาหลายสาขา ก็สามารถโชว์ทุกสาขาได้หมดจาก แผนที่ที่ฝั่งไว้ในเว็บของเรา

จริงๆ Google My Maps มันทำง่าย มันเหมาะทำไว้ดูกันเองภายในองค์กรณ์ เราสามารถแชร์ไปให้คนอื่นๆดูกันทั้งหมด แต่ข้อเสียคือ ปกติมันจะตั้งค่าไว้เป็น Private หรือส่วนตัว ถ้าเราไม่แชร์ไปให้คนนั้นๆ เขาก็จะไม่สามารถเห็นหมุดของเรา

ส่วนที่2 ก็คือ Google My Business ก็คือระบบหลังบ้านของหมุดปักแนวธุรกิจ ที่ทำการปักหมุดเพื่อให้เป็นสาธารณะ ปักหมุดแล้วคนทั่วไปสามารถค้นหามาเจอได้แบบ Public ก่อนหน้านี้ Google เคยเรียกแพลตฟอร์มส่วนนี้ว่า Google Place และก่อนหน้านั้นคือ Google Local Business จริงๆการทำหมุดผ่าน GMB นั้นทำได้ฟรี แต่มันจะมีขั้นตอนให้ทำหมุดเป็นลำดับขั้นตอน 1 2 3 4 มีให้ใส่ชื่อธุรกิจ ที่อยู่ เบอร์โทร เวลาเปิดปิด และแจ้งพิกัดร้าน พร้อมรูปร้าน และที่สำคัญมีการ VERIFY หมุดหรือก็คือการยืนยันความเป็นเจ้าของหมุดธุรกิจนั้นแหละ โดยวิธีดีฟอลท์คือการส่งจดหมาย มาตามที่อยู่ของธุรกิจที่ได้ลงข้อมูลเอาไว้ เพื่อเป็นการยืนยันว่า สถานที่นี้เป็นธุรกิจจริงๆ มีคนรับจดหมาย แล้วเอามายืนยันบนเว็บได้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของร้านค้านั้นๆ และข้อดีของระบบนี้ก็คือ ลูกค้าสามารถค้นหาเจอได้จากหน้าแรกกูเกิล เมื่อกดค้นหา และสามารถเข้ามาเขียนรีวิวได้ เข้ามาโพสต์รูปอาหารได้ หรือมาดูรูปภาพ ดูเวลาเปิดปิด และข้อมูลต่างๆได้ ส่วนสุดท้ายของดีของ GMB ก็คือมันสามารถทำ SEO ได้ ซึ้งก็คือการวางคีย์เวิร์ดคำสำคัญ ทำให้ลูกค้ามาเห็นหมุดของเราได้มากขึ้น จากการเสิร์จหาได้จากหน้าแรก Google เมื่อลูกค้าพิมพ์คีย์เวิร์ดค้นหา ชื่อสินค้าหรือชื่อบริการ มันมีโอกาสที่ลูกค้าจะมาเจอเราได้มากขึ้นจากคำคีย์เวิร์ด ที่เราได้ใส่เอาไว้ ฉะนั้นทำให้ Google My Business ได้รับความนิยมมาก ในการใช้ปักหมุด Google Maps เพื่อทำให้ธุรกิจเป็นที่รู้จักมากขึ้นจากบุคคลทั่วไป

ส่วนที่3 ก็คือ Local Guides คือระบบที่คนๆนึง ที่เพียงมี Gmail หรือ Google account ก็สามารถมาช่วย Contribute หรือร่วมให้ข้อมูลที่ตัวเรารู้ ไปยังหมุดปักต่างๆที่มีอยู่บนแผนที่กูเกิลแมพอยู่แล้วได้ เปรียนเสมือนอาสาสมัคร ที่ช่วยให้ข้อมูลต่างๆที่ตัวเรารู้จัก เช่นถ้าคุณรู้ว่า ข้างบ้านคุณมีคุณป้า เปิดร้านอาหารอยู่ แต่คุณป้าทำปักหมุดกูเกิลไม่เป็น แก่แล้ว ไม่เคยจับคอมพิวเตอร์อะไรแบบนี้ คุณก็สามารถเข้าไปช่วยเพิ่มข้อมูลร้านของป้าข้างบ้าน ใส่ลงในระบบของ Google Maps ได้ ก็สามารถปักหมุดได้เช่นกัน แต่ไม่ได้รับสิทธิ์ความเป็นเจ้าของหมุดนั้นๆ เป็นเพียงผู้ร่วมให้ข้อมูล แก่ระบบแผนที่กูเกิลแมพเท่านั้น เสมือนเป็นอาสาสมัครคนนึง ที่ช่วยเอาข้อมูล เช่นคุณรู้ว่าร้านนี้ เปิดปิดกี่โมง เบอร์โทรร้านเบอร์อะไร ก็ช่วยเติมข้อมูลเหล่านั้นลงไปในแผนที่ได้ ในนามอาสาสมัคร หรือโลคัลไกด์นั้นเอง ขณะเดียวกัน ถ้าคุณเข้าไปเขียนรีวิว อัพรูปภาพ ลงไปในหมุดต่างๆ ก็เสมือนคุณได้ช่วยใส่ข้อมูลไปให้ระบบกูเกิลโลคัลไกด์ด้วยเช่นกัน (คล้าย Guides ท้องถิ่น ที่เราเสมือนเป็นไกด์บอกคนอื่นๆได้ว่า ในท้องถิ่นคุณนั้น มีร้านอาหารที่ไหนอร่อย ร้านกาแฟร้านไหนดี )

เบื้องต้น ขออธิบายคร่าวๆ แค่นี้ก่อนละกันนะครับ ไว้คร่าวหลังจะมา เล่าอีกหลายเรื่องให้ฟังอีก เป็น Episode 2 3 4 ต่อๆไปนะครับ

ติดตามทริค เทคนิค และความรู้ต่างๆเกี่ยวกับ Google Maps / Google My Business ได้ที่
Facebook : กูเกิลแมพ ใช้เป็น ประโยชน์เยอะ https://www.facebook.com/usefulmaps/
Website : https://usefulmaps.in.th/
Youtube : https://bit.ly/Usefulmaps-YT

ตั้งชื่อหมุด Google Maps ยังไงให้กูเกิลชอบ ไม่เสี่ยงระงับ

ตั้งชื่อหมุด Google Map ยังไงให้กูเกิลชอบ ไม่เสี่ยงระงับ

วิธีลบหมุดปัก Google Business Profile

วิธีลบหมุดปัก Google Business Profile อัพเดทปี2024 EP50

7ฟีเจอร์ดันอันดับหมุดปักGMB

7 ฟีเจอร์ GMB ที่จะทำให้หมุดปักกูเกิลแมพ มีอันดับที่ดีขึ้น

10เทคนิคปรับแต่งหมุด GoogleBusinessProfile ร้านอาหาร

10เทคนิคปรับแต่งหมุด Google Business Profile ร้านอาหาร ให้ทำอันดับดีกว่าคู่แข่ง EP49

กูเกิลประกาศเลิกฟีเจอร์แชทบนหมุดปัก GMB

กูเกิลประกาศเลิกใช้ฟีเจอร์แชท ในหมุดปัก Google Business Profile

หมุดปักโรงแรมรีสอร์ท อยากให้โชว์ราคา ยังไงก็ต้องจ่าย

หมุดปักโรงแรมรีสอร์ท ถ้าอยากให้โชว์ราคาห้องพัก ยังไงก็ต้องจ่าย EP48