เจ้าของธุรกิจที่ได้ทำหมุดปักด้วยแพลตฟอร์ม Google My Business น่าจะได้เคยเห็นอีเมล์จากระบบ ส่งมาแจ้งเตือนกัน เรื่องให้เข้าไปตั้งค่าเวลาเปิดปิด ในวันหยุดนักขัตฤกษ์ๆ ต่างๆตามปฎิทินวันหยุดของไทย ซึ้งข้อดีคือจะช่วยให้ลูกค้า ที่อาจจะค้นหาข้อมูลร้านของเรา แล้วจะเดินทางมาใช้บริการในวันหยุด (เช่นธุรกิจร้านอาหาร หรือธุรกิจบริการต่างๆ) หาข้อมูลแล้วรับรู้ได้ว่า ร้านเราจะเปิดแน่ๆ ไม่เสียเวลาเดินทางไปเก้อ มาดูวิธีการตั้งค่า กันครับ
ในแต่ละเดือน จะมีวันหยุดนักขัตฤกษ์ อยู่เรื่อยๆ ของแต่ละประเทศ ซึ้งใครที่เป็นแอดมินดูแลหมุดปักอยู่ อาจจะเห็นอีเมล์แจ้งเตือนจากระบบ Google My Business ส่งมาให้เรา แจ้งมาหน้าตาคล้ายๆแบบนี้ อย่างตัวอย่างในเดือนนี้ สัปดาห์หน้าจะมีวันหยุดอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา ต่อเนื่องกัน {เรื่องของภาษาในการแจ้งเตือน ขึ้นอยู่กับการตั้งค่า Setting ภาษาของแต่ละคนนะครับ พอดีของแอดมินตั้งไว้เป็นภาษาอังกฤษ}
วิธีการตั้งค่าแจ้งวันหยุดนักขัตฤกษ์
1. เมื่อล็อกอินเข้าระบบหลังบ้านของ Google My Business แล้วไปที่แท็บ info หรือ ข้อมูล
2. คลิกที่ “เพิ่มเวลาทำการพิเศษ”
3. ระบบจะแจ้งวันหยุดนักขัตฤกษ์ของประเทศไทยเรามา ว่ามีวันอะไรบ้าง เรามีหน้าที่ติ๊ก แจ้งว่า วันๆนั้นร้านเราเปิดหรือปิด ก็ติ๊กตรงสวิทซ์ on-off ได้เลย
เมื่อตั้งค่าเวลาเปิดปิด เสร็จแล้ว ก็กดปุ่ม ใช้ ด้านล่างขวา เป็นอันเสร็จสิ้น
Q : อาจจะมีคำถามว่า หากเจ้าของหมุด ไม่ได้มาตั้งค่าใน GMB ไว้ละ ว่าวันหยุดนักขัตฤกษ์นั้นๆร้านเปิด หรือร้านปิด จะเกิดอะไรขึ้น?
Ans : เมื่อถึงวันหยุดวันนั้นๆ หากเราไม่ได้ตั้งค่าไว้ กูเกิลจะโชว์ข้อความ สีส้มๆแบบนี้มาแทน คือเป็นการบอกว่า เวลาทำการอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง หมายถึงถ้าลูกค้า กำลังมองหาร้านนั้นๆ แล้วกำลังจะไปอยู่ ข้อความนี้ เป็นการบอกกลายๆว่า ถ้าลูกค้าเดินทางไปถึงร้านแล้วปิด หรือร้านอาจจะเปลี่ยนเวลาเปิดปิดที่ไม่ใช่เวลาทำการปกติ ก็ช่วยไม่ได้นะจ้าาาา… เพราะเจ้าของไม่ยอมมาลงข้อมูลแจ้งไว้….
แต่หากเราได้ทำการตั้งค่า ดังที่อธิบายไว้ในบทความนี้ เมื่อถึงวันหยุดนักขัตฤกษ์นั้นๆ ในส่วนของเวลาเปิด-ปิด ก็จะโชว์ พร้อมกับข้อความสีเขียว เพื่อแจ้งว่านี้คือเวลาทำการของวัน XXXX นี้นะ ลูกค้าก็จะรู้สึกมั่นใจมากขึ้น หากจะเดินทางมาใช้บริการ หรือมาซื้อของที่ร้าน เพราะมั่นใจได้ว่าร้านเปิดแน่ๆ
ติดตามทริค เทคนิค และความรู้ต่างๆเกี่ยวกับ Google Maps / Google My Business ได้ที่
Facebook : กูเกิลแมพ ใช้เป็น ประโยชน์เยอะ https://www.facebook.com/usefulmaps/
Website : https://usefulmaps.in.th/
Youtube : https://bit.ly/Usefulmaps-YT