fbpx

คู่มือสอนใช้งานระบบหลังบ้าน Google My Business Profile

อัพเดท November 2022 ระบบหลังบ้าน Google My Business แบบที่สอนในบทความนี้ ตอนนี้ระบบได้ปรับเปลี่ยนใหม่หมด เป็น Dashboard เวอร์ชั่นใหม่แล้ว ตั้งแต่ พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป จะพบหน้าตัวจัดการ Google Business Profile แบบใหม่หมดแล้ว อ่านดีเทลและดูคลิปแนะนำหน้าตัวจัดการ แดชบอร์ดแบบใหม่ได้ที่ บทความ รู้ไว้ไม่งง ตัวจัดการ Google Business Profile แบบใหม่ | EP.36

บทความนี้ เป็นคู่มือสอนการใช้งานระบบ Dashboard หลังบ้านของแพลตฟอร์ม Google My Business (GMB) หรือชื่อใหม่ Google Business Profile (GBP) ซึ้งจะสอนใช้งาน ปรับแต่ง ปรับปรุงข้อมูลต่างๆ ในส่วนของหลังบ้าน GMB เพื่อทำให้หมุดปักธุรกิจของคุณ โชว์ผลได้สมบูรณ์ที่สุด โดยได้จัดทำเป็นคลิปวีดีโอสอนใช้งาน และถอดบทความมาเป็นคำบรรยาย อธิบายไว้บทความนี้ แนะนำให้กดเล่นวีดีโอ แล้วอ่านแต่ละหัวข้อ ประกอบกันไป จะเข้าใจได้ไม่ยาก

วิธีการจัดการระบบหลังบ้าน Google My Business

คลิปวีดีโอนี้ ในเบื้องต้น ผมได้สร้างไว้มอบเพื่อเป็นโบนัสให้กับลูกค้าที่จ้างงานปักหมุด Google Map , Google My Business profile ที่เพจ กูเกิลแมพ ใช้เป็น ประโยชน์เยอะ ได้ศึกษาและเรียนรู้วิธีการจัดการระบบหลังบ้าน โดยในช่วงแรกตั้งค่าแบบ Private ไว้ แต่เมื่อมีผู้คนถามถึงค่อนข้างมาก ผมเลยปรับค่าการมองเห็นคลิปใหม่เป็นแบบ สาธารณะ เพื่อให้ทุกท่านได้รับความรู้ตรงนี้ไปได้ฟรีๆ ทุกคน


วิธีการล็อกอินเข้าระบบหลังบ้านของ Google My Business 3 วิธี

  • ทำผ่าน Computer PC
  • ทำผ่านมือถือ/แท็บเล็ต ผ่านเบราเซอร์
  • ทำผ่าน App Google My Business (ระบบยกเลิกแล้ว)

หากต้องการแก้ไข / เพิ่มเติม / ปรับเปลี่ยนข้อมูลใดๆ ที่เป็นข้อมูลสำคัญของธุรกิจ ผมแนะนำให้ล็อกอินผ่าน Computer หรือ มือถือที่ทำผ่าน เบราเซอร์จะดีกว่า ไม่แนะนำให้ทำการอัพเดทผ่าน App GMB เพราะปัญหาจะค่อนข้างเยอะ (มีบั๊ค หรือปัญหาค่อนข้างเยอะ) ณ ตอนนี้

อัพเดท กรกฎาคม65 จากข่าว เตรียมอำลาแอป My Business ย้ายไปจัดการบน Google Maps app แทน ทำให้แอป Google My Business จะถูกยกเลิกถาวรแล้วถูกลบออกจาก Store ไม่สามารถติดตั้งได้อีก โดยกูเกิลให้เจ้าของธุรกิจใช้การล็อกอินเข้าใช้งานผ่านหน้า เบราเซอร์บนมือถือ หรือบนคอมพิวเตอร์ หรือจัดการโปรไฟล์ได้บน Google Maps app ได้โดยตรง

การล็อกอินเข้าไประบบหลังบ้าน Dashboard ของ GMB ให้เข้าไปที่ลิ้งค์นี้

https://www.google.com/business/

แล้วกดล็อกอิน โดยกรอก Gmail ที่คุณจะใช้เป็นแอดมินของหมุดนี้เข้าไปให้เรียบร้อย ก็จะสามารถจัดการ โปรไฟล์หมุดต่างๆ ที่ Gmail นั้นๆกำลังเป็นแอดมินอยู่

แท็บ หน้าแรก (HOME)

แท็บหน้าแรก หรือ Home ถือเป็นหน้าแรกที่คุณจะได้เห็นเวลาล็อกอินเข้ามา ซึ้งเนื้อหาของส่วนแท็บหน้าแรกนี้ จะสรุป Summary ข้อมูลสำคัญต่างๆจากแท็บอื่นๆ เรียงลำดับมาให้เราดู ทั้งสถิติ รีวิวจากลูกค้า รูปภาพล่าสุดจากรูปค้า โพสต์ล่าสุดที่ได้โพสต์ไป และลิ้งค์สำหรับให้กดดูได้ทั้งแบบ ดูใน map และ ดูใน Search

โดยทั่วไป แต่ละหมวดหมู่ธุรกิจ อาจจะมีแท็บต่างๆ ด้านซ้ายมือของ Dashboard ที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับธุรกิจที่คุณกำลังจัดการอยู่ โดยดีฟอลท์ แท็บด้านซ้ายมือจะเรียงลำดับเป็นดังนี้ Home , Post , Info , Insight , Reviews , Messaging , Photos , Product , Service , Website , Users
แต่บางหมวดหมู่ ก็อาจจะมีแท็บพิเศษ เพิ่มเข้ามา หรือไม่มีแท็บบางฟีเจอร์ ก็เป็นไปได้
เช่นหมวดหมู่ร้านอาหาร จะมีแท็บ Menu และ Booking เพิ่มเข้ามา
หมวดหมู่โรงแรม รีสอร์ท โฮมสเตย์ และที่พักส่วนใหญ่ จะไม่มีแท็บ Posts เป็นเรื่องปกติ

แท็บ ข้อมูล (INFO)

แท็บข้อมูล หรือ Info ถือว่าเป็นแท็บที่สำคัญที่สุด ที่ควรเข้ามาดูและจัดการเปลี่ยนแปลงข้อมูลต่างๆของหมุดปักธุรกิจ หากต้องการปรับเปลี่ยน /แก้ไข / เพิ่มเติม ข้อมูลส่วนใดของร้าน จะต้องเข้ามาที่แท็บนี้เป็นหลัก
โดยหาก ต้องการปรับเปลี่ยนข้อมูลส่วนใด ก็เพียง ไปคลิก สัญลักษณ์รูปดินสอ ณ ตำแหน่งของข้อมูลนั้นๆ แล้วก็สามารถเข้าไปแก้ไข ข้อมูลต่างๆได้แล้ว

Note : ทุกครั้งที่มีการอัพเดทข้อมูลต่างๆ ระบบขึ้นคำว่า “อยู่ระหว่างตรวจสอบ” หรือ “under review” ก็รอสักพักนึง 1-2 ชม. เพื่อให้ระบบอัพเดทฐานข้อมูลใหม่ แล้วเมื่อไปเปิดดูหมุดปักธุรกิจเรา ในนามของลูกค้า ข้อมูลใหม่ที่ใส่ลงไป ก็จะได้รับการอัพเดทตามที่เราได้ใส่เข้าไป

  • ชื่อธุรกิจ (ชื่อหมุด): กดแก้ไขพิมพ์ได้ไม่เกิน 100ตัวอักษร
  • หมวดหมู่ประเภทธุรกิจ : เลือก1หมวดหมู่หลัก หากมีบริการอื่นๆเพิ่มเติม ก็สามารถมาเพิ่มประเภทหมวดหมู่รอง เป็นอันที่2-3-4 ได้เช่นกัน
  • ที่ตั้งธุรกิจ : ปรับเปลี่ยน แก้ไข ที่อยู่ของธุรกิจ ได้โดยควรใส่ที่อยู่จริง ตามเลขทะเบียนบ้าน ตามเลขทะเบียนการค้า บ้านเลขที่ ถนน ซอย ตำบล อำเภอ จังหวัด รหัสไปรษณีย์ (ไม่ควรใส่คำบรรยาย ที่ไม่เกี่ยวลงไปในที่อยู่ เช่น ไม่ควรใส่ (ร้านอยู่ข้าง 7-eleven) หรือไม่ควรใส่คำบรรยายการเดินทาง เช่น ต้องวิ่งออกทางคู่ขนานเมื่อเห็นปั้มเอสโซ่ แล้วจะเจอร้านอยู่ริมถนนติดกับร้านลุงแป้น อะไรแบบนี้ ไม่ควรใส่อย่างยิ่ง
    Note : สำหรับ ช่องตำบล และอำเภอ ควรต้องใส่คำว่า ตำบล และอำเภอ นำหน้าชื่อตำบล/อำเภอเสมอ
    เช่น ช่องตำบล : ควรกรอก : ตำบลบางพึ่ง
    ช่องอำเภอ : ควรกรอก : อำเภอพระประแดง
    Note2 : หากธุรกิจอยู่ในอำเภอเมือง ควรใส่ชื่ออำเภอเมืองเต็มๆ ลงในช่อง เช่น อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอเมืองเชียงใหม่
    ประเทศไทย ไม่เคยมี อำเภอเมือง (เฉยๆนะ) อย่ามักง่ายกับการกรอกข้อมูลตรงนี้ ระบบไม่เข้าใจ และอาจแสดงชื่อผิดพลาดได้
  • ทุกครั้งที่พิมพ์กรอกที่อยู่ธุรกิจ : หมุดอาจจะมีการกระโดดเด้งไปยังตำแหน่งอื่นๆ ที่ผิดไปจากความเป็นจริง หลังพิมพ์ที่อยู่แล้ว ควรมาเช็คตำแหน่งหมุดสีแดง ทุกครั้งว่า หมุดได้วางถูกตำแหน่งหรือไม่เสมอ
  • เพิ่มพื้นที่ให้บริการ : ตรงนี้ผมไม่แนะนำให้กรอก เพราะอาจจะเจอปัญหาได้ โดยบางหมุดเมื่อกรอกพื้นที่ให้บริการลงไป ระบบกลับไม่โชว์หมุดให้เห็น แต่แสดงเป็น Area ขอบเขตสีแดงๆ ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการนั้นๆแทน ซึ้งคนไทยส่วนใหญ่ไม่ถูกใจกับการแสดงผลแบบนี้ แล้วมีปัญหา เสียมากกว่า
  • เวลาทำการอื่นๆ : เวลาให้บริการอื่นๆ ที่เป็น Option พิเศษมากกว่าเวลาให้บริการปกติทั่วไป ตย. คุณเป็นร้านอาหาร ปกติดเปิดปิดร้านในเวลา 10.00-19.00 น. แต่คุณให้บริการ Delivery ในช่วงเวลาที่ไม่เหมือนเวลาเปิดปิดร้านปกติ ก็สามารถมากรอกช่วงเวลาเฉพาะบริการ Delivery เป็น Option เสริมตรงนี้ได้
  • เพิ่มเวลาทำการพิเศษ : ก็คือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ประจำปีของประเทศไทย มีวันอะไรบ้าง เราสามารถมาตั้งค่าได้ว่า วันหยุดนักขัตฤกษ์นั้นๆ ร้านเราเปิด หรือปิด ก็มาติ๊กและใส่เวลาได้
  • เบอร์โทรศัพท์ : สามารถใส่เบอร์หลัก และเบอร์เสริมได้อีก 2หมายเลข รวมเป็นทั้งหมด 3 หมายเลข
    โดยกรอกเบอร์โทรลงไปเลย ไม่ต้องมีขีดกลาง ไม่ต้องใส่วงเล็บใดๆทั้งสิ้น
  • ลิ้งค์เว็บไซต์ : แนะนำกรอกไปก่อน 1ลิ้งค์ จะเป็นเว็บไซต์หลักของธุรกิจ หรือเฟสบุ็คเพจของธุรกิจก็กรอกได้
    และยังได้ประโยชน์ในการทำให้ระบบกูเกิล เชื่อมโยงข้อมูลอื่นๆให้กับหมุดธุรกิจของคุณได้ด้วย ทำให้ข้อมูลร้านดูสตรองมากขึ้น
  • ลิ้งค์อื่นๆเพิ่มเติม : สำหรับบางหมวดหมู่ธุรกิจ ระบบอาจมีช่องให้ใส่ลิ้งค์อื่นๆเพิ่มเติมได้อีก เช่น ลิ้งก์นัดหมาย ลิ้งก์เมนู
  • จากธุรกิจ : ควรพิมพ์คำบรรยาย อธิบายให้ลูกค้าทราบได้ว่า ธุรกิจของเราขายอะไร ให้บริการอะไรบ้าง มีจุดขาย จุดเด่นอะไรบ้าง สัก 1-2 พารากราฟ (พิมพ์ได้ไม่เกิน 750ตัวอักษร)
  • วันที่เปิด : option เสริม ที่สามารถลง วัน/เดือน/ปี ที่เปิดดำเนินการของธุรกิจได้
  • เพิ่มชื่อย่อ : ตั้งค่าชื่อย่อของหมุดให้เป็นคำสั้นๆได้ (ฟีเจอร์นี้ระบบยกเลิกไปแล้ว เมื่อ มิถุนายน2021)
  • แอตทริบิวต์ : คือการใส่คุณลักษณะของธุรกิจนั้นๆ ว่ามีอะไรให้บริการบ้าง จะมีมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับหมวดหมู่ธุรกิจที่เรใช้งานอยู่ อาจะมี attribute ให้เลือกมาก/น้อย ไม่เหมือนกัน

ตั้งค่า ปิดธุรกิจใน Google

หากเมื่อถึงวันนึง ที่ธุรกิจของคุณไม่สามารถรันต่อไปได้ มีการปิดกิจการ หรือ ปิดชั่วคราว หรือเลิกกิจการ ก็ควรมาตั้งค่าในส่วนของ GMB ให้ถูกต้องด้วย โดยมีปุ่มให้กดเลือก 3 แบบดังนี้

  • ปิดชั่วคราว : กดตั้งค่าปิดชั่วคราว เพื่อแจ้งให้ลูกค้าคุณรับทราบว่าช่วงนี้คุณปิดร้านไปก่อน (ตัวเลือกนี้เพิ่งมีมาให้เลือก ช่วงโควิด19 นี้เอง) โดยเมื่อตั้งค่าปิดชั่วครว ลูกค้าจะค้นหามาเจอหมุดได้อยู่ แต่ก็จะโชว์สถานะว่า ร้านปิดชั่วคราวอยู่ ถ้าคุณกลับมาเปิดดำเนินการอีกครั้ง ก็มากด เปิดทำการ ได้อีกทีในตำแหน่งปุ่มตรงนี้
  • ตั้งสถานะเป็นปิดถาวร : หากร้านคุณปิดกิจการ แล้วแต่ยังอยากให้ลูกค้าที่ค้นหามาเจอหมุดคุณรับรู้ได้ว่า ร้านปิดกิจการแล้วนะ ก็สามารถเลือกOption นี้ได้ การตั้งค่าปิดถาวร จะคงทำให้ลูกค้าที่ตั้งใจพิมพ์มาหาข้อมูลหมุดปักของธุรกิจของคุณ ได้เห็นหมุดอยู่ แต่จะมีแถบสีแดงๆ ขึ้นโชว์ว่า ปิดถาวร เพื่อให้ลูกค้ารับรู้ว่า ร้านปิดกิจการไปแล้ว
  • นำข้อมูลออก : คือการลบข้อมูลโปรไฟล์ของหมุดออกไปจากบัญชีของคุณ หรืออีกนัยนึงคือเป็นการลบข้อมูลหมุดปักของกิจการ ให้หายออกไปจากแผนที่กูเกิลไปเลย (ช้อยท์นี้ ถ้าคุณปิดกิจการไปแล้ว แนะนำให้กดเลือก ปิดถาวรก่อน สัก15วัน-30วัน แล้วค่อยมาเลือกช้อยท์ นำข้อมูลออก น่าจะดีกว่า ) อย่างน้อยทำให้ลูกค้าทราบได้ว่าร้านคุณปิดถาวรแล้วนะ ไม่ต้องมาใช้บริการแล้ว และพอผ่านไป30วัน ก็มากดนำข้อมูลออก เพื่อลบข้อมูลออกไปแบบชั่วนิรันดร์

แท็บ รูปภาพ (Photos)

โดยทั่วไปแท็บรูปภาพ จะแบ่งแยกย่อยออกมาเป็น ภาพภายนอก ภายใน ทีม หรือบางหมวดหมู่ อาจจะมีแท็บย่อยพิเศษ ก็พิจารณาใส่รูปไปให้ตรงตามแท็บย่อยๆ เช่นร้านอาหาร อาจจะมีแท็บเมนู และแท็บรูปอาหาร มาให้เลือกเพิ่มเติมได้
ก็ควรหารูปภาพที่สวยงาม สื่อถึงธุรกิจ สื่อถึงบริการ ได้อย่างชัดเจน ควรมีการเตรียมภาพ ไว้ให้ครบ และหลากหลายมุม โดยคิดง่ายๆว่า ถ้าหากเราเป็นลูกค้าที่จะมาใช้บริการ มาซื้อสินค้า/บริการ สถานที่นี้ เราคาดหวังอยากเห็นภาพอะไรบ้าง ยิ่งมีภาพหลากหลายมุม เห็นทั้งสินค้า หรือบริการที่ถ่ายคมชัด และสื่อสารได้ดี ก็มีผลทำให้ธุรกิจของเรา มีคนสนใจมากยิ่งขึ้น

ธุรกิจที่มีหน้าร้าน แนะนำควรมีรูปถ่ายด้านหน้าตึก หน้าร้าน หน้าอาคารที่เห็นตัวร้าน และเห็นป้ายร้านได้อย่างชัดเจน รวมถึงภาพภายในร้าน ภายในบริษัท , ถ้าธุรกิจบริการ ก็ควรมีรูปภาพบริการต่างๆให้ควรทุกอย่างใส่ลงไปให้ครบ เช่นร้านนวดสปา มีนวดอะไรบ้าง นวดเท้า นวดตัว นวดไทย นวดอโรม่า ก็ควรหารูปภาพให้ครบใส่เข้าไป มีรูปทีมงาน มีรูปส่วนต่างๆของกิจการโชว์อย่างครบถ้วน มีผลสูงทำให้ลูกค้าอยากมาซื้อสินค้า/บริการของเรามากยิ่งขึ้น

ภาพสตรีทวิว 360องศา

คำถามที่มีค่อนข้างเยอะ เกี่ยวกับหมุดปักธุรกิจใหม่ๆ คือภาพสตรีทวิว ที่โดยปกติ ระบบมันจะโชว์มา1ภาพในหมุด บางทีเป็นภาพเก่า ถ่ายมาเป็นปี 2ปี 3ปีแล้ว และบางทีเป็นภาพที่เป็นหน้าร้านกิจการเก่า หรือบางที่ยังเป็นพื้นที่เก่า เป็นป่าต้นไม้รกๆ หรือตึกเก่าๆอยู่เลย ทำยังไงดี ตรงนี้เคยทำคลิปอธิบายไว้แล้วใน Ep.10 คลิกลิ้งค์ไปดูได้ที่นี้ ภาพสตรีทวิวในหมุดปัก ไม่สวย เก่ามาก แก้ไขยังไง EP10
หรือถ้าต้องการจ้างช่างภาพ 360องศา ไปถ่ายภาพให้กับธุรกิจของคุณ (มีค่าใช้จ่าย คิดเป็นต่อครั้ง ถ่ายภาพด้านหน้าและด้านในสถานที่ของธุรกิจ แล้วอัพขึ้นไปบนหมุดธุรกิจของคุณได้ เพื่อความสวยงาม คลิกดูรายละเอียดได้อันนี้ บริการถ่ายภาพ 360องศา Streetview inside

วิธีลบรูปภาพที่ลูกค้าอัพโหลดขึ้นมาในหมุดธุรกิจเรา แล้วเราไม่ชอบ ทำยังไง?

หมุดปักธุรกิจโดยปกติ ลูกค้าสามารถเข้ามาเขียนรีวิวได้ อัพรูปภาพจากมือถือของเขา เพื่อแชร์ภาพในหมุดธุรกิจของเราได้ แต่ก็ได้รับคำถามมาเรื่อยๆว่า มีบางภาพที่ไม่สวย มีบางภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเราเลย อยากจะลบรูปนั้นมากๆ ทำอย่างไร
วิธีการก็คือ ไปที่รูปภาพนั้นๆ แล้วคลิกที่สัญลักษณ์ ธง ซึ้งเป็นการ Report แจ้งขอลบรูปภาพ โดยเลือกเหตุผลอย่างน้อย1ข้อ พร้อมพิมพ์อีเมล์ของผู้แจ้ง ลงไปแล้วกด Submit ไปให้ระบบพิจารณา (รอระบบพิจารณา 5-7วัน ทำการ)

ฟีเจอร์อื่นๆ Google My Business

ผมได้ทำคลิปบรรยายถึง ฟีเจอร์อื่นๆอีก 5 ฟีเจอร์เด็ดของ GMB เอาไว้แล้วในอีก 1คลิปวีดีโอ สามารถกดลิ้งค์ไปชมคลิปนี้ได้ที่นี้ https://youtu.be/_JEYYBWM7U4


หากสนใจอยากศึกษาจริงจังเรายังมี คอร์สออนไลน์ สอนปักหมุด Google My Business Profile สอนวิธีปักหมุดกูเกิลแมพ แบบละเอียดทุกขั้นตอน แบบ Step by Step ตั้งแต่พื้นฐาน – แอดวานซ์ สอนทุกฟีเจอร์ฟังชั่นการใช้งานของแพลตฟอร์มนี้ เรียนออนไลน์ ในกลุ่มปิดเฟสบุค อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ สนใจคลิก https://usefulmaps.in.th/our-service/course-online-google-my-business/


ติดตามทริค เทคนิค และความรู้ต่างๆเกี่ยวกับ Google Maps / Google My Business ได้ที่
Facebook : กูเกิลแมพ ใช้เป็น ประโยชน์เยอะ https://www.facebook.com/usefulmaps/
Website : https://usefulmaps.in.th/
Youtube : https://bit.ly/Usefulmaps-YT


บล็อกอื่นๆที่น่าสนใจ

อยากปรับแต่งหมุดปัก Google Business Profile ให้เริ่มที่ หมวดหมู่ธุรกิจ

อยากปรับแต่งหมุดปัก Google Business Profile ให้เริ่มที่ หมวดหมู่ธุรกิจ | EP51

ตั้งชื่อหมุด Google Maps ยังไงให้กูเกิลชอบ ไม่เสี่ยงระงับ

ตั้งชื่อหมุด Google Map ยังไงให้กูเกิลชอบ ไม่เสี่ยงระงับ

วิธีลบหมุดปัก Google Business Profile

วิธีลบหมุดปัก Google Business Profile อัพเดทปี2024 EP50

7ฟีเจอร์ดันอันดับหมุดปักGMB

7 ฟีเจอร์ GMB ที่จะทำให้หมุดปักกูเกิลแมพ มีอันดับที่ดีขึ้น

10เทคนิคปรับแต่งหมุด GoogleBusinessProfile ร้านอาหาร

10เทคนิคปรับแต่งหมุด Google Business Profile ร้านอาหาร ให้ทำอันดับดีกว่าคู่แข่ง EP49

กูเกิลประกาศเลิกฟีเจอร์แชทบนหมุดปัก GMB

กูเกิลประกาศเลิกใช้ฟีเจอร์แชท ในหมุดปัก Google Business Profile